เทคโนโลยีพลังงานชุมชน
ความรู้พลังงาน
8 ตุลาคม 2564
20
0
0

                          เทคโนโลยีพลังงานชุมชน เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่กระทรวงพลังงานจัดทำขึ้นในโครงการ แผนพลังงานระดับชุมชน โดยเน้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก หรือ Renewable Energy Technology (RETs) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และสามารถตอบสนองการใช้งานในครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจภายในชุมชนได้

 

                           หลักการพิจารณาเลือก เทคโนโลยีพลังงานทดแทน (Renewable Energy Technology: RETs) ที่เหมาะสมกับชุมชน จะอาศัยหลักสำคัญในการพิจารณา 4 หลักการ ดังนี้

สะอาด : เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ ใช้เชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่หมุนเวียนผลิต และใช้ได้ตลอดเวลาในท้องถิ่น

ง่าย : ง่ายต่อการใช้งาน และการผลิต เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน ชุมชนสามารถจัดการเองได้

ทดแทนใหม่ได้ : ใช้เชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ทดแทนใหม่ได้ และพอดีกับความต้องการ

ประสิทธิภาพสูง : ประหยัดทรัพยากร ประหยัดแรงงาน และประหยัดค่าใช้จ่าย

 

เทคโนโลยีพลังงานชุมชนที่่สำคัญมี 5 อย่าง ได้แก่

1. ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

" ตู้อบเเห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลิก "

ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลิก เป็นตู้อบขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบาสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย และเหมาะสำหรับอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของความร้อนที่มีประสิทธิภาพ ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในการใช้งาน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การอบแห้งด้วยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลิก เมื่อเทียบกับการตากแดด พบว่า ตู้อบดังกล่าวช่วยลดปัญหาการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง การรบกวนจากแมลง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น และยังช่วยลดระยะเวลาในการตากแห้งอีกด้วย

 

2. โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

" โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ "

โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์เป็นวิธีอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก (Solar greenhouse) ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุน ลงทุนติดตั้งใช้งาน โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่ออกแบบรูปพาราโบลา อาศัยหลักการปรากฏการณ์เรือนกระจก เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มายังชั้นบรรยากาศโลก เคลื่อนที่ผ่านมายังแผ่นกระจกหรือพลาสติกใสที่สร้างครอบหลังคาโรงอบแห้งอยู่ จะเกิดการสะท้อนและดูดกลืน จากรังสีคลื่นสั้น (Short wavelength) จนกลายเป็นรังสีคลื่นยาว (Long wavelength) และกลายเป็นรังสีความร้อน หรืออินฟาเรต (Infrared) ในที่สุด โดยรังสีความร้อนนี้จะไม่สามารถเดินทางผ่านแผ่นกระจกหรือพลาสติกใสออกมาได้ ทำให้อากาศภายในเรือนกระจกร้อนขึ้น

 

3. เตาชีวมวลประสิทธิภาพสูง

 Capture_3 Capture_4 

" เตาแก๊สชีวมวล "

เตาชีวมวล เป็นเตาที่ออกแบบขึ้นเพื่อใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือนโดยใชัชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง มีการทำงานเช่นเดียวกับระบบผลิตแก๊สจากชีวมวล (Gasifier) แบบอากาศไหลขึ้น (Updraft Gasifier) ซึ่งเป็นการเผาไหม้ในที่ที่จำกัดปริมาณอากาศทำให้เกิดความร้อนบางส่วน โดยความร้อนเหล่านี้จะไปเร่งปฏิกิริยาต่อเนื่องอื่นๆ ให้เปลี่ยนเชื้อเพลิแข็งกลายเป็นเชื่อเพลิงแก๊ส เช่น แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) แก๊สไฮโดรเจน (H2) และแก๊สมีเทน (CH4) เป็นต้น

 

                   ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อชุมชนมีส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาใช้ ผ่านกระบวนการวางแผนพลังงานระดับชุมชน

- ลดการใช้พลังงานในกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน

- เพิ่มผลผลิตและลดการสูญเสียในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน

- สร้างรายได้ให้กับกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน

- เทคโนโลยีพลังงานชุมชนมีมาตราฐาน

R
ELATED NEWS
ข่าวที่น่าสนใจ
Hover Icon
20 มกราคม 2566
4
ประชุมสภากาแฟ ครั้งที่ 4 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วันที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 07.00 น. นายวาทิน ทองดี พลังงานจังหวัดบึงกาฬ เข้าร่วมประชุมสภากาแฟ ครั้งที่ 4 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ด่านศุลกากรบึงกาฬ ต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ โดย นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานการประชุมสภากาแฟ โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬร่วมกับเทศบาลเมืองบึงกาฬเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม และในการนี้สำนักงานพลังงานจังหวัดบึงกาฬได้รับมอบป้ายสภากาแฟเป็นเจ้าภาพร่วมในครั้งถัดไป

Hover Icon
22 มิถุนายน 2563
36
คู่มือศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานระดับชุมชน

สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ดำเนินโครงการเชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรและเครือข่ายชุมชนในประเทศไทย เพื่อสรา้งพลังการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปี 2562